อาหารหลากเมนูที่เรารับประทานกันอยู่จนเคยชิน บางครั้งกลับมีภัยร้ายแฝงอยู่โดยที่เราไม่คาดคิด เพราะอาหารไทยส่วนมากเป็นอาหารรสจัดที่มักพวงมากับปริมาณโซเดียมที่มากเกินความจำเป็น
แต่ช้าก่อน❗️โซเดียมไม่ได้ส่งผลเสียต่อร่างกายเสมอไป เพราะจริง ๆ แล้วโซเดียมเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย มีหน้าที่หลักคือ การรักษาสมดุลของน้ำและของเหลวในร่างกาย รวมถึงควบคุมระด้บความดันโลหิตอีกด้วย
#กระดูกกระเดี้ยว มาชวนส่องสาเหตุว่าทำไมโซเดียมจึงทำร้ายกระดูก และอาหารแบบใดบ้างที่เราต้องระวัง
โดยปกติแล้วโซเดียมมักพบได้ในวัตถุดิบธรรมชาติ 🥕🥩 เช่น เนื้อสัตว์ ผักผลไม้ และธัญพืช หรือเครื่องปรุงรส อย่างน้ำปลา เกลือ ซีอิ๊ว กะปิ และผงชูรส รวมถึงอาหารแปรรูป ไม่ว่าจะเป็นของหมักดอง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และอาหารกระป๋อง
เมื่อร่างกายของเราได้รับโซเดียมในปริมาณมาก ร่างกายจะขับน้ำออกมาทางปัสสาวะ และแคลเซียมซึ่งเป็นแร่ธาตุสำคัญต่อกระดูกก็ออกมาด้วยเช่นกัน ทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคกระดูกพรุนได้ง่ายขึ้น 😖
ดังนั้นในหนึ่งวันเราควรได้รับโซเดียมไม่เกิน 2,300 มิลลิกรัมต่อวัน (เทียบกับเกลือปนได้ประมาณ 6 กรัม หรือ 1 ช้อนชา)
🥘 5 เมนูโซเดียมสูงที่ต้องระวัง พร้อมส่วนประกอบที่น่าห่วง!
- แกงไตปลา (4472 มิลลิกรัม)
ส่วนประกอบหลัก: พุงปลาและกะปิ - ส้มตําปูปลาร้า (2916 มิลลิกรัม)
ส่วนประกอบหลัก: ปูดอง น้ำปลาร้า น้ำปลา และผงชูรส - แกงเขียวหวาน (2804 มิลลิกรัม)
ส่วนประกอบหลัก: พริกแกงเขียวหวาน น้ำปลา/เกลือ - น้ำพริกปลาร้า (2529 มิลลิกรัม)
ส่วนประกอบหลัก: ปลาร้า น้ำปลา - น้ำพริกกะปิ (2342 มิลลิกรัม)
ส่วนประกอบหลัก: กะปิ น้ำปลา
อาหารที่มีโซเดียมสูงเหล่านี้ใช้ส่วนประกอบคล้ายกันคือ ของแปรรูปและเครื่องปรุงรส เราจึงแนะนำว่าควรเลือกทานอาหารที่มีปริมาณโซเดียมต่ำ โดยอ่านปริมาณโซเดียมบนฉลาก และหากทำอาหารทานเองก็ควรใช้เครื่องปรุงและผงชูรสให้น้อยลง
#กระดูกกระเดี้ยว รักกระดูกให้มาก แล้วชีวิตคุณจะยืนยาว 💙
ที่มา: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสุขภาพ, คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล, เครือข่ายลดบริโภคเค็ม